วัตถุประสงค์
ใ เพื่อให้นายจ้าง, ผู้บริหาร หรือ HR. ทราบถึงการจ้างแรงงานระหว่างพนักงานประจำของบริษัทฯ กับการจ้างแรงงานที่ผ่านบริษัทรับเหมา Outsource แตกต่างกันอย่างไร.. เช่น กรณีลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงาน ,การลงโทษทางวินัย ,การย้ายหน่วยงาน หรือการเลิกจ้าง
2. เพื่อให้ทราบถึงการกำหนดสภาพการทำงานให้ลูกจ้างที่นำเข้าผ่านบริษัท Outsource นายจ้างมีสิทธิกำหนดให้ทำงานแตกต่างไปจากลูกจ้างประจำของบริษัทฯ ได้มากน้อยเพียงใด และมีการเลือกปฏิบัติได้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้ทำงานต้องเข้าทำงานตามกะเช้า กะบ่าย ,กะดึก , หรือ ต้องออกไปปฏิบัติงานตามไซต์งาน , ออกไปปฏิบัติงานตามสาขาต่างๆ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เรียนรู้ และเป็นกรณีศึกษาในกรณีนายจ้างมีการบริหารงานผิดพลาดเกี่ยวกับ เรื่องการจ่ายค่าจ้าง,ค่าล่วงเวลา หรือ การจ่ายสวัสดิการไม่เป็นไปตามสิทธิของลูกจ้างที่ได้รับตามกฎหมายกำหนด จนเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้ติดตามทวงถาม เช่น การเรียกร้องสิทธิทางแรงงานจังหวัด หรือ ฟ้องศาลแรงงาน องค์กรจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง..?
หัวข้อการอบรม
1. วัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจของบริษัทรับเหมาค่าแรง Outsource มีอะไรบ้าง..?
2. บริษัทฯจะต้องมีหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อพนักงานในองค์กรตามกฎหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง..?
• ยกตัวอย่าง : วันทำงาน - การจ่ายค่าจ้าง - การจ่ายสวัสดิการ - การลงโทษทางวินัย - การเลิกจ้าง - การจ่ายค่าชดเชย ในกรณีต่างๆ
3. ผู้บริหาร หรือ HR. ต้องมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการจ้างงาน และประเภทของสัญญาจ้างแรงงาน อะไรบ้าง..?
• ยกตัวอย่าง : สัญญาจ้างแรงงานปลายเปิด - สัญญาจ้างแรงงานปลายปิด - สัญญาจ้างทำของ - ผู้รับเหมาช่วง หรือ ตัวแทนจำหน่าย
4. การทำสัญญาจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรง Outsource เพื่อให้นำแรงงานเติมเต็มให้กับองค์กร หรือ เพื่อการทำสัญญาจ้างให้ถูกต้องและ เป็นธรรมต้องกำหนดเงื่อนไขการจ้างไว้ในสัญญาจ้างอย่างไร..?
• มีตัวอย่าง : การเขียนสัญญาจ้าง ระยะเวลาการจ้าง - การจ่ายค่าจ้าง - การจ่ายสวัสดิการ - การส่งคืนลูกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
5. การจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 กรณีให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?
• มีตัวอย่าง : การระเบียบปฏิบัติการจ่ายสวัสดิการให้กับลูกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
6. สภาพการจ้าง และสภาพการทำงานมีความจำเป็นต้องให้ทำงานเหมือนกับพนักงานประจำของบริษัทฯ หรือไม่ เพราะอะไร..?
• ยกตัวอย่าง : การได้รับสิทธิวันหยุด - วันลาต่างๆ - การทำงานประจำกะเช้า - ต้องเข้ากะบ่าย - กะดึก
7. ขอบเขตการบริหารจัดการ หรือการลงโทษทางวินัยพนักงานที่นำเข้าจากบริษัท Outsource ทำได้เพียงใด..เช่น การปฏิบัติงานที่ไม่ผ่านทดลองงาน - การย้ายหน่วยงาน - การลงโทษทางวินัย - การเลิกจ้าง เพราะเหตุในกรณีต่างๆ
• มีตัวอย่าง : หนังสือลงโทษทางวินัย - เป็นหนังสือเตือน - หนังสือสั่งพักงาน - หนังสือเลิกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
8. กรณีนายจ้างมี นโยบายสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อต่อเติมโรงงานหรือติดตั้งเครื่องจักรเป็นเวลา 60 วัน ต้องบริหารจัดการ อย่างไร และลูกจ้างที่ผ่านบริษัท Outsource จะได้รับค่าจ้างจากใคร..?
• มีตัวอย่าง : การทำหนังสือ แจ้งต่อภาครัฐเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 ของค่าจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
9. กรณีนายจ้างประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจจนเกิดวิกฤต เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่มีงานทำ,นายจ้างไม่มีรายได้ บริษัทฯ มีนโยบายให้ลูกจ้างหยุดงาน 60 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างจะได้รับการว่างงานอย่างไร..?
• มีตัวอย่าง : การทำหนังสือ แจ้งภาครัฐเพื่อวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ลูกจ้างได้รับสิทธิว่างงาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
10. เมื่อนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจึงมีนโยบาย ยกเลิกสัญญาจ้างบริษัทรับเหมา Outsource ก่อนครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร..?
• ยกตัวอย่าง : การรับผิดต่อบริษัท Outsource กรณีบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด และการส่งมอบแรงงานคืนต่อบริษัท Outsource
11. กรณีนายจ้างส่งมอบลูกจ้างคืนต่อบริษัท Outsource ไปแล้ว เมื่อบริษัท Outsource ไม่สามารถจัดส่งลูกจ้างไปทำงาน ณ ที่บริษัทฯ แห่งใหม่ได้ลูกจ้างจะรับสิทธิอะไรบ้าง..?
• ยกตัวอย่าง : ลูกจ้างไม่ได้ทำงานจะได้รับค่าจ้างจากใคร.. จะได้รับการว่างงานจากประกันสังคมหรือไม่..
12. กรณีบริษัท Outsource จัดส่งลูกจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน นายจ้างต้องตรวจสอบอะไรบ้าง..?
• ยกตัวอย่าง : การตรวจสอบหนังสือเดินทาง (Visa ) -ใบอนุญาตให้ทำงาน - บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว - บัตรพิสูจน์สัญชาติ
13. กรณีลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัท Outsource ตั้งสหภาพแรงงานขึ้นในบริษัทฯ องค์กรจะได้รับผลกระทบ อะไรบ้าง..?
14. กรณีลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัท Outsource ทำความเสียหายต่องาน แล้วออกจากงานไป ใครคือผู้รับผิดชอบ ในทางเสียหายต่องาน
15. เมื่อลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัท Outsource ประสบอันตราย , เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากการทำงาน องค์กรจะได้รับผลกระทบอย่างไร..?
16. ข้อเปรียบเทียบการจ้างแรงงานที่นำเข้าผ่านบริษัท Outsource เกิดผลดี และแตกต่างจากการจ้างแรงงานประจำของบริษัทฯ อย่างไร..?
17. กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้าง ,จ่ายสวัสดิการให้กับลูกจ้างผ่านบริษัท Outsource เมื่อบริษัท Outsourceไม่จ่าย ให้กับลูกจ้าง ในกรณีนี้ลูกจ้าง บริษัท Outsource จะติดตามทวงถาม หรือ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ใคร..?
18. เมื่อลูกจ้างที่นำเข้าจากบริษัท Outsource ปฏิบัติงานกลับบริษัทฯ ไปจนเกษียณอายุ ในการทำงานจะได้รับ ค่าชดเชยตามค่าจ้าง,ตามอายุในการทำงาน , ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 กับใคร..?
19. ข้อควรระวัง : การฟ้องคดีย้อนหลัง ตาม มาตรา 11/1 เพื่อเรียกร้อง สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
20. อายุความในการเรียกร้องสิทธิ และ ค่าดอกเบี้ย หรือสิทธิ ในการเรียกเงินเพิ่มใน กรณีต่างๆ
รอบ | วันที่ | เวลา | สถานที่ |
---|---|---|---|
1 | พุธที่ 8 มี.ค. 2023 | 09:00 - 16:00 น. | สถานที่ โรงแรมโนโวเทล ซอยสุขุมวิท 20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพ ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง |